แขกผู้มีเกียรติเยี่ยมชม และกิจกรรมในงานมหกรรมวิทย์ฯ’ 65

ในวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565

 คณะสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาเข้าชมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565
นำโดย Ms. Diana Johnson, Assistant Cultural Affairs Officer หัวหน้าคณะ และผู้ร่วมคณะ เข้าชมนิทรรศการ และกิจกรรมต่างๆ ภายในงานด้วยความสนใจ

งานเสวนา “แก้วบำบัดกาย แก้วบำบัดใจ” นำเสนอมุมมองคุณประโยชน์ของแก้วด้วยการเสวนาวิชาการ และการลงมือปฏิบัติการอย่างง่าย ๆ เพื่อการบำบัด ดูแล และเยียวยา ทั้งทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ เสวนาแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยเป็นการเสวนา แก้วบำบัดกาย นำวิจัยที่น่าสนใจของคนไทยที่มีการใช้แก้วชีวภาพ ที่มีการนำมาพัฒนาเทคโนโลยีด้านการบำบัดมะเร็ง และแก้วเซรามิก ที่มีการนำมาพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุทางทันตกรรม ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว จึงได้รับความสนใจจากผู้ที่มาร่วมฟังเสวนาและมีการบรรยายและสาธิตเทคนิคการครอบแก้ว เพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อย เช่น ออฟฟิศซินโดรม

ทำให้สามารถห่างจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย และยังสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ทำให้เยาวชนค้นพบตัวเองในสิ่งที่ชอบ กลายเป็นงานอดิเรก และสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ในอนาคต

ช่วงบ่าย เป็นการเสวนา แก้วบำบัดใจ ที่ได้รับเกียรติจากอาจารย์จากศูนย์พัฒนาอาชีพบ้านภูแก้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเพ้นท์แก้ว เนื่องจากมีการทำเป็นอาชีพและเป็นสินค้า OTOP ที่ได้รับความสนใจ ซึ่งกิจกรรมมีการให้เยาวชนได้เพ้นท์สีแก้วที่มีเทคนิคเฉพาะสำหรับการเสวนาในครั้งนี้ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นการฝึกสมาธิ ช่วยให้ผ่อนคลาย และสงบมากขึ้น รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่

การแข่งขัน Space Youth Challenge 2022 : ยอดเยาวชนคนอวกาศ เป็นการแข่งขันออกแบบโครงการสํารวจอวกาศระดับเยาวชนประจําปี 2565 โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างความตระหนักและ การรับรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศสำหรับเยาวชนไทย จึงจัดแข่งขันออกแบบโครงการสำรวจอวกาศระดับเยาวชนในรูปแบบการแคสเกม ซึ่งเป็นสื่อที่เยาวชนคุ้นเคยและนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งเกมที่ใช้ในการแข่งขันนี้คือเกม Kerbal Space Program เป็นเกมแนว space simulator ที่จะทำให้เยาวชน ได้เรียนรู้หลักการทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งยานสำรวจอวกาศที่สอดคล้องกับความเป็นจริง เสมือนกับว่าได้ออกแบบและสร้างยานไปสำรวจอวกาศจริง  

  สำหรับการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในวันนี้ แต่ละทีมจะขึ้นมานำเสนอคลิปวิดีโอผลงานความยาวไม่เกิน 2 นาที และตอบข้อซักถามของคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาคัดเลือกที่สุดของยอดเยาวชนคนอวกาศ และทีมที่ชนะในวันนี้ คือ ทีม MVPJA EVO. II โรงเรียน มงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม จังหวัดเชียงใหม่ 

 พิธีมอบรางวัลการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน  (CAAS) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน ประจำปี 2565 นำเสนอผลงานการใช้กล้องโทรทรรศน์ และสื่อการเรียนรู้ดาราศาสตร์ ที่ถูกนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการดาราศาสตร์ภายในชุมชน และการทำโครงงานดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ให้เข้าถึงทุกพื้นที่ในประเทศ สร้างเครือข่ายให้เกิดการจัดกิจกรรมดาราศาสตร์อย่างต่อเนื่อง จัดโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ผู้ผ่านการคัดเลือก กิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียน จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนโคกสว่างคุ้มวิทยานุสรณ์ .อุบลราชธานี, โรงเรียนเถินวิทยา .ลำปาง, โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญมหาวิทยาลัยบูรพา .ชลบุรี

 

  พิธีมอบรางวัลการแข่งขัน ประยุกต์ข้อมูลคุณภาพอากาศ ดีเด่น (ACAQLE Awards) จัดโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NARIT ผู้ได้รับรางวัล First Prize in Software/Programing/Data Analysis  ที่มีผลงานดีเด่นด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลคุณภาพอากาศ ในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรม และการวิเคราะห์ข้อมูลด้านคุณภาพอากาศ เป็นนักศึกษาจาก สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ นายภาคภูมิ รุจิพรรณ และ นายรัตนธร เพ็ชรถม 

พิธีปิดค่ายหว้ากอ ค่ายวิทยาศาสตร์ หว้ากอ ครั้งที่ 38 จัดพิธีปิดค่าย เวทีกลาง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อิมแพค เมืองทองธานี
ในวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565 เวลา 17.00 . โดยมีการมอบรางวัล Walk Rally 3 รางวัล และรางวัล Team Spirit 5 รางวัล มอบเกียรติบัตรให้เยาวชน

โดย รศ.ดร.สายวรุฬ ชัยวานิชศิริ ประธานโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ หว้ากอ ครั้งที่ 38 อุปนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ดร.ชนินทร วรรณวิจิตร รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวปิดค่ายดังกล่าว