กิจกรรมในงาน

Activities & Event

กิจกรรมที่จะทำให้เรามองโลกวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ รอบตัวเราได้อย่างตื่นตาตื่นใจ และได้เข้าไปรู้จักกับวิทยาศาสตร์ที่จะอธิบายความเป็นไปได้ของเรื่องราวเหล่านั้นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ภายใต้แนวคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานกับศิลปะในมุมของการขับเคลื่อนพัฒนา “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) ของประเทศ

กิจกรรมห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์
(Science Lab)

เรียนรู้ และทดลองวิทยาศาสตร์ ผ่านห้องทดลองจริง 

สวมบทบาทนักวิทยาศาสตร์ ร่วมทดลองวิทยาศาสตร์ แสนสนุกด้วยตัวเองสนุกไปกับกิจกรรมการทดลอง วิทยาศาสตร์ ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฝึกการตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว ได้หยิบจับ ทดลอง และสังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและเข้าใจกระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำทั่วโลกได้ค้นพบสิ่งใหม่ ไป ด้วยกัน 

มหัศจรรย์สมุนไพร (Miracle of Herb)

พืชสมุนไพรไทยเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน หลายชั่วอายุคน และยังคงมีคุณค่ามาจนถึงทุกวันนี้ สำหรับกิจกรรม “มหัศจรรย์สมุนไพร” ผู้เข้าร่วมทุกคนจะได้เรียนรู้ถึงสมุนไพรไทย และประโยชน์ของสมุนไพรประจำบ้าน โดยผู้เข้าร่วมจะได้ลงมือทำยาดมสมุนไพร และทำส่วนผสมที่ต้องการด้วยตนเอง นอกจากนี้ การทำยาดมยังสามารถหาเป็นรายได้เสริม สร้างประโยชน์ได้หลายช่องทาง

มหัศจรรย์แห่งสีกับเคมีในบ้าน (The Magics of Colors and Home Chemistry)

ศึกษาการแยกสีที่ไม่สามารถแยกได้ด้วยตาเปล่าด้วยอุปกรณ์ง่าย ๆ ที่มีในบ้าน ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟี สีที่เราเห็นเป็นสีเดียวนั้น จริง ๆ แล้วคือสีเดียวหรือไม่ สีที่เห็นแตกต่างกันเกิดจากการผสมกันของสีอะไรบ้าง ทดลองสีที่ได้จากธรรมชาติ โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างสีจากธรรมชาติและทดลองแยกสีด้วยโครมาโทกราฟี ด้วยตนเอง

หุ่นยนต์เจ้าปัญญา (My First Robot)

รู้จักกับโครงสร้างพื้นฐานของหุ่นยนต์และการต่อวงจรไฟฟ้า ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์และการสังเกต ผ่านการสร้างสรรค์หุ่นยนต์จากวัสดุอย่างง่าย พร้อมประลองความแรงกับกิจกรรม The Bot Fighter!

นกตกรัง (Bird falls the nest)

เรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องแรงโน้มถ่วงและแรงเสียดทานผ่านการลงมือประดิษฐ์ของเล่นภูมิปัญญาไทย 

ค้างคาวเพื่อนรัก (Bat Not Bad)

กิจกรรมการเรียนรู้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ที่มีชื่อว่า “ค้างคาว” ซึ่งออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้ง อาจมองว่าค้างคาวนั้นไม่มีประโยชน์ แต่อันที่จริงแล้ว ค้างคาวมีความสำคัญต่อระบบนิเวศธรรมชาติมากมาย มาร่วมค้นหาคำตอบไปกับ “ค้างคาวเพื่อนรัก” 

ลองเล่นเลนส์ (Let’s zoom It)

ฝึกทักษะการสังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และสนุกกับการประดิษฐ์กล้อง จุลทรรศน์แบบพกพาด้วยตนเอง 

กิจกรรมเวทีกลาง (Main Stage Activities)

พบกับกิจกรรมที่หลากหลาย เวทีกลาง อาทิ พิธีมอบรางวัล การประกวดแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์ การเสวนาพูดคุยจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การแสดงต่าง และกิจกรรมอื่น ให้ร่วมสนุกอีกมากมาย

13 ส.ค.


11.30-12.00
. : การแสดงหนังตะลุงเพชรบุรี 

13.00-14.30 . : การแสดง NSM JSI 

14.30 – 15.00 . :  งานเสวนาสุดจัดสัตว์ป่า 

16.30 – 17.00 .   : การมอบรางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น 

14 ส.ค.

09.00 – 12:00 . : งานพิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565

16.30-18.00 . : การมอบรางวัลโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย

15 ส.ค.

13.00-18.00 . : พิธีมอบรางวัลโครงการห้องเรียนสี เขียว สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กับ เยาวชน และโรงเรียน 

18.00-19.00 .การมอบรางวัลการประกวด สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของ นักวิทยาศาสตร์น้อย

17 ส.ค.

15.30-17.00 .  : การมอบรางวัลการประกวดโครงงาน อาชีวะศึกษา 

18 ส.ค.

11.00-12.00 . : พีธีมอบรางวัลนักวิทยาศาสตร์/ครู ดีเด่น 

19 ส.ค.

10.00-12.00 . : การแข่งขัน Space Youh Challenge รอบชิงชนะเลิศ 

13.30-15.00 .  : พิธีมอบรางวัลการจัดกิจกรรม ดาราศาสตร์ระดับโรงเรียน (CAS) 

15.00-15.30 . : พิธีมอบรางวัลการแข่งขัน ประยุกต์ข้อมูลคุณภาพอากาศ ดีเด่น (ACAQLE Awards) 

15.30-18.00 . : พิธีปิดค่ายหว้ากอ 

18.00-19.00 . : ซ้อมพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมของ เล่นวิทยาศาสตร์ 

20 ส.ค.

11.00-12.00 น. : Science Drama 

12:00-13:00 น. : งานเสวนา TYSA 

13.00-14.00 . : มอบรางวัลชุมชนนกั วิทยาศาสตร์ รุ่นเยาว์ 

14.00-15.00 . : พิธีมอบรางวัลการประกวดเรื่องสั้น แนววิทยาศาสตร์

15.00-17.00 . : ประกาศผลรางวัล Inovation Science Toys

17.00-18.00 . :  Science Drama 

21 ส.ค.

14.00-16.00 . : กิจกรรม YTSA 

17.00-19.00 . :  พิธีมอบรางวัลการประกวดรางวัล นวัตกรรมแห่งประเทศ ไทย 

ลานประกวดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน  โดยสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

พื้นที่จัดแสดงผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ อาทิ การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ การประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น

13-14 ส.ค.

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา – สมาคมวิทยาศาสตร์ฯ – อพวช.

15 ส.ค.

การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนักวิทยาศาสตร์น้อย ระดับประถมศึกษา

16-17 ส.ค.

การประกวดและจัดนิทรรศการโครงงานวิทยาศาสตร์อาชีวศึกษา ประจำปีพุทธศักราช 2565

18-19 ส.ค.

ภาพถ่าย AI

18-20 ส.ค. 2565

การประกวดกิจกรรมชุมนุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ – มูลนิธิเอสซีจี ประจำปี 2565

20-21 ส.ค. 2565

การประกวดโครงงานคณิตศาสตร์ ประจำปี 2565

21 ส.ค. 2565

การประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย (นวท.)
ครั้งที่ 22 (พ.ศ.2565)

นิทรรศการ Creative Science Toy by Design

“Creative Science Toy by Design” เป็นการต่อยอด โครงการ “Science Toy Competition 2022” ซึ่งมุ่งหวังที่จะส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้และของเล่นวิทยาศาสตร์ เพื่อสนับสนุน การพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 โดยการนำชิ้นงานที่ผ่านการคัดเลือกมาจัดแสดงและเปิดโอกาสให้มีการทดลอง ทาของเล่นแบบต่าง ๆ รวมถึงการแสดงของเล่นจากต่างประเทศเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก และเยาวชนรุ่นใหม่ในการคิดและประดิษฐ์ของเล่นหรือชิ้นงานทางวิทยาศาสตร์ต่อไป 

กิจกรรมงานประชุมสัมมนา อบรม และเสวนา

พบกับการอบรมเชิงปฏิบัติการและเสวนาวิชาการ จากหน่วยงานต่าง ทั้งในและต่างประเทศ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ เความคิดสร้างสรรค์ และความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พร้อมกับการแลกเปลี่ยนเความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในประเด็นที่น่าสนใจและหลากหลายสำหรับเยาวชนและประชาชนไทย รวม 15 เรื่อง แบ่งเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้  

เสวนาวิชาการ 9 เรื่อง

เสวนาวิชาการรวมกับอบรมเชิงปฏิบัติการ 1 เรื่อง

เสวนาวิชาการรวมกับการแข่งขัน 1 เรื่อง 

อบรมเชิงปฏิบัติการ 4 เรื่อง

1) เสวนาวิชาการ 9 เรื่อง รับฟัง และชม การบรรยายเสวนาวิชาการ (Eng -Thai) ผ่านรูปแบบ Onsite, Online และ Live
  • รูปแบบ Online 1 เรื่อง
    1.1) Symposium on Science Festival 2022 (Thai) : พิพิธภัณฑ์กับสังคม : การส่งเสริมวิทยาศาสตร์พลเมืองและวิทยาศาสตร์เพื่อมวลชน
  • รูปแบบ Online และ Live 1 เรื่อง
    1.2) Symposium on Science Festival 2022 : The Role of Museums in Promoting Civic Science Literacy and Citizen Science (Eng -Thai) 
  • รูปแบบ Online, Onsite และ Live 1 เรื่อง
    1.3) The Awards Ceremony of the 2022 International Photo Competition : The Flow of Beauty : Interconnecting Folks and Living Creatures 
  • รูปแบบ Onsite และ Live 4 เรื่อง 

1.4)  The Future is Now : Special Event 

1.5)  Talkative, Talk กะ ถ้ำ 

1.6)  วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กับ ดินแดนแห่งอนาคต “Science Technology and Innovation of the future” 

1.7)  เส้นทางสู่ฝันสายพันธุ์นักวิทย์ (Journey to the Career in Science) (Inter) 

  • รูปแบบ Onsite และ Live 1 เรื่อง (เวทีกลาง) 

1.8) “สุดจัด…สัตว์ป่า” (Wildlife Exclusive) 

  • รูปแบบ Onsite 1 เรื่อง (เวทีกลาง)

1.9) NSM JSI ตะลุยวิทย์ สนุกคิด เรียนรู้ ตอน ค้นพบความมหัศจรรย์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565

2) เสวนาวิชาการรวมกับอบรมเชิงปฏิบัติการ รูปแบบ Onsite 1 เรื่อง

2.1) “แก้วบำบัดกาย แก้วบำบัดใจ”

3) เสวนาวิชาการรวมกับการแข่งขัน รูปแบบ Online Onsite และ Live จำนวน 1 เรื่อง

3.1) โครงการเสวนาและประกวดแข่งขันการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

4) อบรมเชิงปฏิบัติการ 4 เรื่อง (Onsite)

4.1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง NSM Family Play-learning: การเรียนรู้ผ่านการเล่นสำหรับครอบครัว ตอน เล่น เรียน รู้ วิทยาศาสตร์ผ่านของเล่นภูมิปัญญาไทย (Traditional Thai Toys)

4.2) ภูมิปัญญาจากวัยเก๋า “กระดาษจากฟางข้าว”

4.3) LEGO® Education & Physical Science

4.4) Matatalab Tale-Bot Pro หุ่นยนต์จิ๋ว แต่ความสามารถไม่จิ๋ว

การอบรมเชิงปฏิบัติการ
และเสวนวิชาการจากหน่วยงานต่าง ๆ

จำนวน 15 หัวข้อ ดังนี้

 

1) NSM JSI ตะลุยวิทย์ สนุกคิด เรียนรู้ ตอน ค้นพบความมหัศจรรย์ ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565

รายละเอียดกิจกรรม :

“พบกับเยาวชน NSM JSI ในกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ของการเป็น NSM Junior Science Influencers”

 

วันที่ : เสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2565 

เวลา : 13.00 – 14.30 น. 

สถานที่ : เวทีกลาง 

กลุ่มเป้าหมาย เยาวชนในโครงการ NSM Junior Science Influencers 

รูปแบบ : เสวนาวิชาการ Onsite / กิจกรรม 

จำนวน : 100 คน 

2) “สุดจัด...สัตว์ป่า" (Wildlife Exclusive)

รายละเอียดกิจกรรม :

“การเสวนาพูดคุยเกี่ยวกับ หนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่มรดก โลกทางธรรมชาติ ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้ง ซึ่งจัดทำโดย อพวช. ตั้งแต่เริ่มงานวิจัยจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นหนังสือเล่ม นี้ ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อทั้งงานด้านวิชาการและงานด้านการอนุรักษ์ สัตว์ป่าในประเทศไทย” 

 

วันที่ : เสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2565 

เวลา : 14.30 – 16.30 น. 

สถานที่ : เวทีกลาง 

กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน / ประชาชนทั่วไป 

รูปแบบ : เสวนาวิชาการ และเปิดตัวหนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้ง / Onsite และ
Live Facebook : NST Fair / Facebook NSM Thailand / Facebook : พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา

จำนวน : 200 คน

3) The Awards Ceremony of the 2022 International Photo Competition : The Flow of Beauty : Interconnecting Folks and Living Creatures

รายละเอียดกิจกรรม :

“พิธีมอบรางวัลภาพถ่ายยอดเยี่ยม the 2022 International Photo Competition : The Flow of Beauty : Interconnecting Folks and Living Creatures” 

วันที่ : อังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 

เวลา : 10.00 – 12.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนทั่วไป 

รูปแบบ : เสวนาวิชาการและพิธีมอบรางวัลภาพถ่ายยอดเยี่ยม the 2022 International Photo / Online และ Onsite Live Facebook : NST Fair / NSM Thailand 

จำนวน : 50 คน onsite และ online 500 คน 

4) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กับดินแดนแห่งอนาคต “Science Technology and Innovation of the future”

รายละเอียดกิจกรรม :

“ร่วมรับฟังแนวความคิด ความเป็นไปได้ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุดล้ำจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาร่วมออกแบบอนาคตให้ดินแดนแห่งความหวังของเรา ทุกคนในงานเสวนา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจนี้” 

 

วันที่ : อังคารที่ 16 สิงหาคม 2565 

เวลา : 13.00 – 16.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป 

รูปแบบ : เสวนาวิชาการ/ Onsite และ online Facebook Live : 

NST Fair/NSM Thailand/ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 

จำนวน : 50 คน onsite และ online 500 คน 

5) Symposium on Science Festival 2022 : The Role of Museums to Promote Civic Science Literacy and Citizen Science

รายละเอียดกิจกรรม :

“ร่วมรับฟังเสวนาจากนักวิชาการนานาประเทศเพื่อส่งเสริมบทบาท พิพิธภัณฑ์ในการสนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง” 

 

วันที่ : พุธที่ 17 สิงหาคม 2565 

เวลา : 09.00 – 16.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต 

ศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้ / นิสิต นักศึกษา 

นักวิชาการ ครู อาจารย์ / บุคคลทั่วไปที่สนใจ 

รูปแบบ : Online (Zoom Conference) และ Live : Facebook NSM Thailand (ระบบสองภาษา) 

จำนวน : 200 คน 

6) Sympossium on Science Festival 2022 (Thai) : พิพิธภัณฑ์กับสังคม : การส่งเสริมวิทยาศาสตร์พลเมืองและวิทยาศาสตร์เพื่อมวลชน

รายละเอียดกิจกรรม :

“เสวนาวิชาการเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงานของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมพัฒนานิทรรศการและกิจกรรมสาธารณะ ถ่ายทอดฐานความคิดและการปฏิบัติ เพื่อให้สาธารณชนเรียนรู้สาระทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมที่ตอบโจทย์ใหม่ ๆ ของสังคม” 

 

วันที่ : พฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 

เวลา : 09.00 – 12.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ศูนย์ 

วิทยาศาสตร์ ศูนย์การเรียนรู้ / นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ครู 

อาจารย์ / บุคคลทั่วไปที่สนใจ 

รูปแบบ : Online (Zoom Conference) 

จำนวน : 200 คน 

7) The Future is Now: Special Event

รายละเอียดกิจกรรม :

“นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ร่วมเสวนาถึงเบื้องหลังแรงบันดาลใจ เกี่ยวกับอาชีพนักวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในอนาคต พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับผู้เข้ารับฟัง” 

 

วันที่ : เสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 

เวลา : 09.00 – 12.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชนระดับมัธยมและอุดมศึกษา และบุคคลทั่วไป 

รูปแบบ : Onsite และ Facebook Live : NST Fair / 

Facebook : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ 

จำนวน : 50 คน onsite และ online 500 คน 

8) Talkative, Talk กะ ถ้ำ

รายละเอียดกิจกรรม :

“Talk สไตล์ TED Talk กับนักวิจัยมากความสามารถในหลากหลายสาขา เพื่อค้นพบความมหัศจรรย์ของถ้ำและคาสต์ และเป็นเวทีเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยที่ย่อยง่าย สนุก และมีสาระ” 

 

วันที่ : เสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 

เวลา : 13.00 – 16.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป 

รูปแบบ : Onsite และ live Facebook : NST Fair / 

พิพิธภัณฑ์พระรามเก้า 

จำนวน : 50 คน onsite และ online 500 คน 

9) เส้นทางสู่ฝันสายพันธุ์นักวิทย์ (Journey to the Career in Science)

รายละเอียดกิจกรรม :

“พบกับกิจกรรมเสวนา เพื่อสร้างแรงบันดาลใจทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านประสบการณ์และความรู้ โดยนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ นักวิจัย และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เพื่อสร้างให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของวิทยาศาสตร์อย่างยั่งยืน” 

 

วันที่ : เสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 

เวลา : 13.30 – 16.30 น. 

สถานที่ : Phoenix 3 

กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชนระดับมัธยมและอุดมศึกษา และบุคคลทั่วไป (Inter) 

รูปแบบ : Online และ Onsite online ผ่าน Facebook Live : 

NST Fair / Facebook : NSM Thailand / Facebook : 

TYSAonline) 

จำนวน : 50 คน onsite และ online 500 คน

10) แก้วบำบัดกาย แก้วบำบัดใจ

รายละเอียดกิจกรรม :

“นำเสนอมุมมองต่อคุณประโยชน์ของแก้วด้วยการเสวนาวิชาการ และการลงมือปฏิบัติการอย่างง่าย ๆ บนขอบเขตเนื้อหาที่เป็นเป้าหมายของการนำแก้วมาใช้เพื่อการบำบัด ดูแล และเยียวยา ทั้งทางด้านร่างกายและทางด้านจิตใจ” 

 

วันที่ : ศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565 / 09.00 – 16.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 3 

กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนระดับมัธยมตอนปลายขึ้นไป และประชาชนทั่วไป 

รูปแบบ : การเสวนากึ่งปฏิบัติการ / Onsite + Workshop 

จำนวน : 40 คน 

11) โครงการเสวนาและประกวดแข่งขันการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

รายละเอียดกิจกรรม :

“พบกับกิจกรรมเสวนาและการประกวดแข่งขันการสื่อสาร วิทยาศาสตร์เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต พร้อม ตอบคำถามทุกประเด็นเกี่ยวกับ AI ในมิติที่น่าสนใจโดยผู้เชี่ยวชาญ จากโครงการ AI for All และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ที่จะทำให้เรื่องราวของปัญญาประดิษฐ์ ไม่ห่างไกลกับชีวิตของคุณอีกต่อไป” 

 

วันที่ : พฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 

เวลา : 09.00 – 16.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 3 

กลุ่มเป้าหมาย : นักเรียนระดับมัธยม และนักศึกษา 

รูปแบบ : เสวนา (09.00 – 12.00 น.) และจัดแข่งขัน (13.00 – 16.00 น.)
Onsite และ Online Facebook Live : NST Fair / Facebook : พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ *Online เฉพาะเสวนา* 

จำนวน : 50 คน onsite และ online 500 คน

12) การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง NSM Family Play-learning : การเรียนรู้ผ่านการเล่นสำหรับครอบครัว ตอน เล่น เรียน รู้ วิทยาศาสตร์ผ่านของเล่นภูมิปัญญาไทย (Traditional Thai Toys)

รายละเอียดกิจกรรม :

“พบกับกิจกรรมประดิษฐ์ของเล่นภูมิปัญญาไทยสุดสร้างสรรค์ หาทำได้ยาก และมาหาคำตอบว่า … เพราะอะไร? ฅ.คนถึงเลื่อยไม้ได้” 

วันที่ : เสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2565 

เวลา : 09.00 – 12.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : เยาวชน ประชาชนทั่วไป และครอบครัว 

รูปแบบ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ Onsite 

จำนวน : รับ 10 ครอบครัว (ครอบครัวละ 4 คน) 

13) LEGO® Education & Physical Science

รายละเอียดกิจกรรม :

“มาร่วมสนุกกับเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบของกีฬาที่ทุกคนรู้จักและคุ้นเคย ผ่านชุดการเรียนรู้จาก LEGO® Education แล้วทุกคนจะได้รู้จักกับของเล่นที่ไม่ใช่แค่เล่น” 

 

วันที่ : เสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2565 

เวลา : 09.00 – 12.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 3 

กลุ่มเป้าหมาย : ครู บุคลากรทางการศึกษาและบุคคลทั่วไป 

รูปแบบ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) / Onsite 

จำนวน : รับ 10 กลุ่ม (กลุ่มละ 3 คน) 

14) Matata lab Tale-Bot Pro หุ่นยนต์จิ๋วแต่ความสามารถไม่จิ๋ว

รายละเอียดกิจกรรม :

“พลาดไม่ได้สำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ที่สนใจเรียนรู้การ Coding แบบ Unplugged ผ่านการเล่นและทำกิจกรรมแบบ Hands-on ด้วยชุดสื่อการเรียนรู้ Matatalab Tale-Bot Pro ที่จะช่วยปลุก ความคิดสร้างสรรค์ และจุดประกายความอยากรู้อยากเรียน” 

 

วันที่ : อาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565 

เวลา : 09.00 – 12.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไป บุคคลที่มีความสนใจในการจัดการ เรียนรู้สำหรับเด็ก 

รูปแบบ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ Onsite 

จำนวน : 40 คน 

15) ภูมิปัญญาวัยเก๋า “กระดาษจากฟางข้าว”

รายละเอียดกิจกรรม :

“ร่วมสนุกคิด สนุกทำ สืบสานภูมิปัญญา เรียนรู้ขั้นตอนการทำกระดาษจากฟางข้าว และกิจกรรม Hands On การประดิษฐ์ดอกไม้ จากกระดาษฟางข้าว” 

 

วันที่ : อาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565 

เวลา : 13.00 – 16.00 น. 

สถานที่ : Phoenix 2 

กลุ่มเป้าหมาย : ครอบครัว 

รูปแบบ : การอบรมเชิงปฏิบัติการ Onsite 

จำนวน : เยาวชน ประชาชนทั่วไป และครอบครัว (10 กลุ่ม กลุ่มละ 4 คน)